1 มี.ค. 56 ประชุมวิชาการระหว่างประเทศ การสื่อสารความเสี่ยง: แนวทางสร้างอนาคตมาบตาพุด ที่จุฬาฯ

การประชุมวิชาการระหว่างประเทศ เรื่อง การสื่อสารความเสี่ยง: แนวทางการสร้างอนาคตมาบตาพุด วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม  พ.ศ. 2556 ณ ห้องประชุม 301-302 อาคารมหาจักรีสิรินธร ชั้น 3 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 08.30 – 17.30 น. 

เนื่องจากปัจจุบันการลงทุนอุตสาหกรรมทั้งในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดระยอง อาทิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และปราจีนบุรี ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเคมี โรงไฟฟ้าถ่านหิน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ปัญหาจากมลพิษอุตสาหกรรมทั้งอากาศเสีย น้าเสีย และของเสียอันตรายจึงยิ่งแพร่กระจายออกไปเป็นบริเวณกว้างขึ้นและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ทั้งนี้ยังไม่นับผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่

ท่ามกลางสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นนับวันก็ยิ่งมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น สังคมไทยกลับยังคงขาดความพร้อมในการรับมือ ไม่ว่าในด้านทรัพยากรและการสนับสนุนที่จาเป็นต่อการเอื้อให้เกิดการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และวิทยาการเฉพาะทางอีกหลายแขนงที่จะมารับมือต่อสถานการณ์ปัญหาต่างๆ ยังขาดการศึกษาและติดตามผลกระทบของสารพิษในน้ำเสียและอากาศเสียที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งในเชิงเศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยาที่จะช่วยวิเคราะห์ถึงภาพรวมของผลกระทบทางทั้งในพื้นที่มาบตาพุดและเศรษฐกิจและสังคมอย่างครอบคลุม นอกจากนี้ยังขาดกฎหมายและมาตรการรองรับสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลสารเคมีและการปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม

การประชุมวิชาการระหว่างประเทศครั้งนี้ รวมถึงการประชุมที่เกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ถึงวันที่ 2 มีนาคม จึงได้จัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่มาบตาพุด และเขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยอง ซึ่งคณะนักวิชาการจากศูนย์วิจัยเปิดมินามาตะศึกษา มหาวิทยาลัยคุมาโมโตกักกุเอ็ง(Open Research Center for Minamata Studies, Kumamoto Gakuen University: ORCM) เป็นสถาบันวิชาการของประเทศญี่ปุ่นที่ส่งเสริมและเผยแพร่การศึกษา “โรคมินามาตะ” หรือโรคจากพิษปรอท ได้ดำเนินการร่วมกับคณะนักวิชาการและเครือข่ายประชาสังคมในประเทศไทย เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบ ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจและห่วงใยในประเด็นนี้ ทั้งจากประเทศญี่ปุ่น ไทย และกลุ่มประเทศในลุ่มแม่น้าโขง โดยมุ่งหวังว่าผลที่ได้รับจากการสัมมนาจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแนวทางป้องกัน แก้ไข ตลอดจนเตรียมพร้อมรับมือต่อปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง และพื้นที่อื่นๆ ในอนาคต รวมถึงประเทศในลุ่มแม่น้าโขง  

ชมภาพบรรยากาศในงาน