HIA ท่าศาลา เซฟร่อน ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตุต่อกระบวนการ EHIA มิติการเลือกพื้นที่ใช้ประโยชน์และการเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาภาคใต้

เวทีเรียนรู้เอชไอเอผ่านกรณีศึกษา (HIA Case Conference)กรณีศึกษาที่ 1
โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือและศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย
ของ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ที่ ต.กลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา 08.30 – 17.00 น.
ณ ห้องประชุมสานใจ 1 ขั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ภายในกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี
จัดโดย เครือข่ายนักวิชาการเอชไอเอ (HIA Consortium) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

นางภารนี สวัสดิรักษ์ นักวิชาการเครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม กล่าวว่า ที่ตั้งของโครงการขัดกับร่างผังเมืองรวมจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ห้ามสร้างพื้นที่สำรองวัตถุอันตราย เพราะในร่างรายงานฯ ระบุว่าพื้นที่ส่วนหนึ่งจะกักเก็บวัตถุอันตรายซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสีและวัตถุระเบิดไว้ โดยเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 กรมโยธาธิการและผังเมืองทำหนังสือถึงโยธาธิการจังหวัดนครฯ เลขที่ นส.0020/2929 ว่าร่างผังเมืองจังหวัดนครฯ จะประกาศใช้ภายในเดือนธันวาคม 2555 แต่คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (คชก.) กลับพิจารณาเห็นชอบรายงาน EHIA ของโครงการนี้ ไปวันที่ 11 กันยายน ที่ผ่านมา โดยมีผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นหนึ่งใน คชก. ชุดนี้แต่กลับไม่มีการพิจารณาในประเด็นดังกล่าว

นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ว่างในโครงการอีก 390 ไร่ ที่ระบุว่าเป็นพื้นที่รอการพัฒนาโดยไม่รู้แน่ชัดว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอีกกว่า 30 ปี ข้างหน้าแต่รายงาน EHIA ก็ผ่านความเห็นชอบไปแล้ว ดังนั้นกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่นี้ก็จะเป็นเพียงการทำการประเมินของโครงการส่วนขยายเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการประเมินผลกระทบภาพรวมของโครงการฯ ทั้ง 30 ปี ซึ่งจากร่างรายงานของโครงการนี้ยังระบุอีกว่าจะมีการวางแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติเพื่อส่งไปยังโรงแยกก๊าซธรรมชาติ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นการพัฒนาที่เป็นจุดเปลี่ยนของภาคใต้และสอดคล้องกับแผนพัฒนาชายฝั่งภาคใต้ของ สภาพัฒนาเศรษฐกิจการคลังระบุว่าพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้มีศักยภาพการพัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจพลังงาน แต่ชุมชนยังคัดค้านสูงจะเลือกที่จะชะลอโครงการขนาดใหญ่ไว้ก่อน
“ต้องนำข้อมูลจากโครงการนี้มาพิจารณาว่าเกิดผลกระทบสูงกว่าในร่างรายงานฯ หรือไม่ ควรประเมินประเด็นการกักเก็บสารกัมมันตภาพรังสีเพิ่มเติมด้วยและต้องประเมินภาพรวมผลกระทบโครงการภาพรวมทั้ง 30 ปีด้วย” นางภารนี กล่าว 

ชมวิดีโอ >>Click<<