เอชไอเอชุมขนสุรินทร์-จะนะ คว้ารางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 2557


HIA in Thailand – เอชไอเอชุมขนสุรินทร์-จะนะ คว้ารางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 2557






 เอชไอเอชุมขนสุรินทร์-จะนะ คว้ารางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 2557

                   วันนี้ (24 ธันวาคม 2557) นายเจษฎา มิ่งสมร ประธานจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 (คจ.สช.) และนางทิพย์รัตน์ นพลดารมย์ ประธานคณะอนุกรรมการรางวัลสมัชชาสุขภาพประจำปี พ.ศ. 2557 มอบรางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2557 ประเภท 1 กรณี เป็นรางวัลที่มอบให้ชุมชนที่นำเครื่องมือการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพไปใช้อย่างได้ผลเป็นที่ประจักษ์ ในปีนี้มีชุมชนที่ได้รับรางวัล 2 คือชุมชนอำเภอปราสาทและอำเภอเมือง กรณีโรงไฟฟ้าชีวมวล จ.สุรินทร์ และชุมชนอำเภอจะนะ กรณีท่าเรือน้ำลึกและการพัฒนาอุตสาหกรรม อ.จะนะ จ.สงขลาในงานประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 ณ อิมแพคฟอรั่ม จ.นนทบุรี

                   นางทิพย์รัตน์ นพลดารมย์ ประธานคณะอนุกรรมการรางวัลสมัชชาสุขภาพประจำปี พ.ศ. 2557 กล่าวว่าในปีนี้มีรางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2557 ทั้งสิ้น 7 รางวัล จาก 3 ประเภท คือ จังหวัด พื้นที่ กรณี โดยมาจาก 3 เครื่องมือตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 คือสมัชชาสุขภาพจังหวัด ธรรมนูญสุขภาพจังหวัด และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน โดยผู้ได้รับรางวัลคือสมัชชาสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี สมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง ธรรมนูญสุขภาพตำบลริมปิง จ.ลำพูน ธรรมนูญสุขภาพตำบลดงมูลเหล็ก จังหวัดเพชรบูรณ์ ธรรมนูญสุขภาพบ้านคลองอาราง ตำบลบ้านแก้ง จังหวัดสระแก้ว ชุมชนอำเภอปราสาทและอำเภอเมือง กรณีโรงไฟฟ้าชีวมวล จ.สุรินทร์ และชุมชนอำเภอจะนะ กรณีท่าเรือน้ำลึกและการพัฒนาอุตสาหกรรม อ.จะนะ จ.สงขลา

                   นางทิพย์รัตน์ กล่าวต่อว่า รางวัลนี้มีขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2555 เป็นต้นมา โดยมีหลักการสำคัญเพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจ ไม่ใช่การประกวดแข่งขัน และเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับภาคีเครือข่ายที่สนใจนำเครื่องมือ “ธรรมนูญสุขภาพ” “สมัชชาสุขภาพ” และ “เอชไอเอ” ไปใช้เพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

                   ข้อมูลเอชไอเอชุมชนกรณีโรงไฟฟ้าชีวมวล จังหวัดสุรินทร์พบว่ากระบวนการเอชไอเอชุมชน ทำให้ชุมชน ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีความตระหนักและรับรู้ถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์มากขึ้น ผู้ประกอบการมีความพยายามมากขึ้นที่จะดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เช่น มีการใช้ตาข่ายสำหรับคลุมป้องกันฝุ่น การช่วยเหลือขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อใช้แทนแหล่งน้ำที่สูญเสียไป หรือการสนับสนุนเครื่องกรองน้ำ แม้การช่วยเหลือดังกล่าวยังห่างไกลกับคำว่าเพียงพอต่อคนในพื้นที่ แต่อย่างน้อยที่สุดผู้ประกอบการได้เริ่มที่จะตระหนักถึงความเดือดร้อนของชุมชนบริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้า

                   ทุกวันนี้แม้ปัญหาจะยังคงดำรงอยู่ ทุกฤดูกาลที่ข้าวเปลือกและอ้อยถูกขนส่งสู่โรงสีและโรงงานน้ำตาล เป็นช่วงเวลาที่ชุมชนต้องป้องกันตนเองจากผลกระทบที่เกิดขึ้น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกต้องการความร่วมมือในการแก้ปัญหาอย่างจริงจังทั้งในระดับนโยบาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ประกอบการที่ต้องใส่ใจถึงผลกระทบต่อสุขภาวะของคนในชุมชน เพื่อให้พลังงานทางเลือกเป็นพลังงานที่สมควรเลือกอย่างแท้จริง

                   ในขณะที่ข้อมูลจากเอชไอเอชุมชนจะนะกรณีท่าเทียบเรือน้ำลึกและการพัฒนาอุตสาหกรรมพบว่าการต่อสู้มากว่า 16 ปี ของคนในพื้นที่จะนะ กับโครงการแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย โครงการโรงไฟฟ้าจะนะ และการสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ทำให้ชุมชนเหนื่อยล้ากับการต่อสู้ แต่กระบวนการเอชไอเอชุมชนทำให้ชุมชนมีแนวทางใหม่ที่จะนำเสนอข้อคัดค้านอย่างมีระบบมากขึ้น ซึ่งนอกจากการทำข้อมูลด้วยตนเองแล้วยังเป็นเครื่องมือสร้างพลังความรู้ให้แก่ชุมชน เกิดการทบทวนตนเอง ตระหนักถึงศักยภาพที่มีจนนำไปสู่การขับเคลื่อนแบบใหม่ คนในชุมชนได้ใช้สิทธิของตนเองอย่างมีรูปธรรมชัดเจน มีการกำหนดอนาคตของชุมชนอย่างเข้มแข็งและมั่นคงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ชุมชนยังคงต้องต่อสู้เพื่อสิทธิในการอนุรักษ์พื้นที่ของตนอย่างต่อเนื่อง เพราะปัญหาจากการพัฒนาอุตสาหกรรม พลังงานและปิโตรเคมี ยังเป็นทิศทางการพัฒนาของภาครัฐทุกยุคทุกสมัย และที่สำคัญ